ประเพณีสำคัญ



ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศอินโดนีเซีย



ประเทศอินโดนีเซีย มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ ทาให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจาชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า “วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่า”วายัง ปูร์วา”( Wayang Purwa) “วายัง”แปลว่า “เงา” ส่วน”ปูร์วา”แปลว่า”ความเก่าแก่”รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการเชิดตัวหุ่นที่ทาจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคาว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่า”การแสดง


ความเป็นมาของวายัง นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือ




กลุ่มแรก ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกาเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคาศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกาหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริง

กลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์

( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8

กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะ ประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งใน ราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทาพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนมคนโปรดของพระองค์ การทาพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการ เชิดหนังนั่นเอง

แม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพ บุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อมแยกกันไม่ ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิดบันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยม ประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้ เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็นศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทาพิธีนี้ เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนามาใช้โดยบุคคลสาคัญซึ่งทาตนเป็นสื่อกลางรับจ้างอัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคาว่า “วายัง” มีวิวัฒนาการมาจาก คาเก่าของชวา คือ “วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฎให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณ
ชนิดของวายัง


การแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทาด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนัง เพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและ วิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนา ความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมาย นอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่ 1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้า เป็น การแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จาก ลายสลักบนกาแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต

2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทาจากหนัง สัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของ กษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิต ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16



3. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) พัฒนามาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทาจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลาตัวหุ่นซึ่งทาจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอมเท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้น เวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสาหรับกระตุกให้เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาวมุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา

4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) หมายถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทาจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทาด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลาตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและในที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิม



วายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทาให้เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสาหรับเด็ก
5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัด



ผู้ที่แสดง (ผู้เชิด) เรียกว่าดาหลัง ซึ่งต้องมีการร่าเรียนก่อนที่จะแสดง ดาหลังมีทั้งดาหลังที่เป็นคนในวังและดาหลังที่เป็นชาวบ้าน และส่วนมากจะเป็นการสืบทอดโดยสายตระกูล

จอหนังของหนังวายังทาจากผ้าสีขาวขนาดประมาณ 10 X 5 ฟุต มีไม้ไผ่ตีเป็นกรอบ มีตะเกียงแขวนไว้ด้านใน มีต้นกล้วยวางไว้ในจอเพื่อปักตัวหนังโดยต้นใหญ่ไว้ปักตัวหนังสาคัญ ส่วนต้นเล็ก ปักตัวหนังที่ไม่สาคัญ ตัวหนังพิเศษในการแสดงได้แก่ตัวหนังที่แกะเป็นรูปภูเขา เรียกว่า กุหนุงอัน นอกจากนี้ยังมีตัวหนังเป็นรูปสัตว์ต่างๆ รูปอาวุธ รูปกองทัพ รูปที่มีการต่อสู้ที่ติดพันกัน และรูปทหารในลักษณะต่างๆ

การแสดงเริ่มจากปักกุหนุงไว้กลางจอ เพื่อบอกให้รู้ว่าจะมีการแสดงวายังนับจากนี้จนถึงรุ่งเช้า เมื่อเริ่มแสดงก็จะนาเอากุหนุงออกจากหน้าจอหนังและเริ่มแสดง และเมื่อแสดงเสร็จนายหนัง(ดาหลัง) ก็จะปักกุหนุงที่ต้นกล้วยในตาแหน่งกลางจออีกครั้งเพื่อให้ทราบว่าจบการแสดงวายังแล้ว


 ระบาบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
 ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทาโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง

ที่มา : http://httppangrumpuppetblogspotcom.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

ที่มา : http://www.google.com
(ภาพประกอบ)

No comments:

Post a Comment